King Mongkut's University of Technology North Bangkok.

 

       

Please Sign in     Username :      Password :     

กองบริการการศึกษา   ถูกต้อง  รวดเร็ว   โปร่งใส  มีประสิทธิภาพ   และ สามารถตรวจสอบได้

Q&A หน่วยงาน :

    กลุ่มงานหลักสูตรและพัฒนาคณาจารย์

ข่าวสารกองบริการการศึกษา :

ถาม - ตอบ กลุ่มงานหลักสูตรและพัฒนาคณาจารย์

      1. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 มีความเหมาะสมและสามารถดำเนินการได้
       คณะ/ภาควิชาส่วนใหญ่ระบุว่าเหมาะสมแล้ว สามารถดำเนินการได้ แต่มีบางภาควิชาระบุว่าไม่เหมาะสม เพราะ
     - กำหนดจำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพิ่มขึ้นจากเกณฑ์มาตรฐานเดิม ซึ่งอาจส่งผลให้ขาดความหลากหลายในการจัดทำหลักสูตร ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
     - ควรปรับลดจำนวนหน่วยกิตในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป
      2. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 มีความเหมาะสมและสามารถดำเนินการได้
       คณะ/ภาควิชาส่วนใหญ่ระบุว่าเหมาะสมแล้ว สามารถดำเนินการได้ แต่มีบางภาควิชาระบุว่าไม่เหมาะสม เพราะ
     - จำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ ไม่เพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา
พ.ศ. 2548 ควรมีบทเฉพาะกาล เพื่อเตรียมการเรื่องอัตรากำลัง
      3. กรณีหลักสูตรที่ดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2542 สถาบันมีการเตรียมการเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548
       อยู่ระหว่างดำเนินการ แต่ยังไม่ครบถ้วนเรื่องจำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ประจำหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คน ทั้งนี้อย่างไรก็ตาม สภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือในการประชุมครั้งที่ 2/2548 เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2548 ได้พิจารณาเรื่อง การปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 จึงมีมติให้หลักสูตรใหม่/หลักสูตรปรับปรุงที่นำเสนอคณะกรรมการประจำคณะ/วิทยาลัยหลังจากวันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ใช้ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 ส่วนหลักสูตรใหม่/หลักสูตรปรับปรุงที่นำเสนอคณะ-กรรมการประจำคณะ/วิทยาลัยก่อนวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ให้ใช้ตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรเดิมโดยอนุโลม และให้มีการพัฒนา/ปรับปรุงให้สอดคล้องกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 ภายใน 5 ปี ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 สถาบันของท่านได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมในเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
     3.1 จำนวนและคุณวุฒิ ตำแหน่งทางวิชาการ รวมทั้งแผนการพัฒนาทั้งด้านคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ
     - ส่งเสริมให้อาจารย์จัดทำผลงานทางวิชาการ เพื่อเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
     - จัดรวมหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี และหลักสูตรปริญญาตรี ต่อเนื่อง 2-3 ปี ในสาขาวิชาเดียวกัน ให้เป็นหลักสูตรเดียวกัน โดยมีการเทียบโอนหลักสูตร ซึ่งรับผู้จบ ม.6 ป.วช. ป.วส. เข้าศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี เพื่อใช้ทรัพยากรบุคคลร่วมกัน
     3.2 ภาระงานที่ปรึกษางาน/โครงการ หรือการค้นคว้าอิสระ มีความพร้อมเหมาะสมอยู่แล้ว เนื่องจากสถาบันกำหนดให้อาจารย์มีภาระงานควบคุมวิทยานิพนธ์และปริญญานิพนธ์ไม่เกิน 20 ชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ต่อภาคการศึกษาปกติ
     - งานควบคุมหรืองานที่ปรึกษาโครงงานพิเศษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ให้คำนวณภาระงานเท่ากับ 2 ชั่วโมงทำงานต่อ 1 เรื่องต่อสัปดาห์ต่อภาคการศึกษาปกติ ทั้งนี้แต่ละเรื่องให้นับภาระงานได้ไม่เกิน 1 ปี หรือ 2 ภาคการศึกษาปกติ และให้มีภาระงานไม่เกิน 10 เรื่องในคราวเดียวกัน กรณีที่เป็นที่ปรึกษาร่วมให้แบ่งการคำนวณภาระงาน ซึ่งเมื่อรวมภาระงานของคณาจารย์ทุกคนแล้ว ต้องไม่เกินภาระงานที่กำหนดไว้
      - งานที่ปรึกษาและควบคุมวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา ให้คำนวณภาระงาน 4 ชั่วโมงทำงานต่อ 1 เรื่องต่อสัปดาห์ต่อภาคการศึกษาปกติ ทั้งนี้แต่ละเรื่องให้นับภาระงานได้ไม่เกิน 2 ปี หรือ 4 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับระดับปริญญาโท และไม่เกิน 3 ปี หรือ 6 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับระดับปริญญาเอก โดยให้มีภาระงานได้ไม่เกิน 5 เรื่องในคราวเดียวกัน กรณีที่เป็นที่ปรึกษาร่วมให้แบ่งการคำนวณภาระงาน ซึ่งเมื่อรวมภาระงานของคณาจารย์ทุกคนแล้ว ต้องไม่เกินภาระงานที่กำหนดไว้
     - งานที่ปรึกษาโครงงาน/ปัญหาพิเศษระดับบัณฑิตศึกษา ให้คำนวณภาระงานเรื่องละ 3 ชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ต่อภาคการศึกษาปกติ ทั้งนี้แต่ละเรื่องให้นับภาระงานได้ไม่เกิน 1 ปี หรือ 2 ภาคการศึกษาปกติ โดยให้มีภาระงานไม่เกิน 10 เรื่องในคราวเดียวกัน ในกรณีที่ต้องคำนวณภาระงานที่เป็นตอนเรียน ให้คำนวณเช่นเดียวกับภาระงานสอนและกรณีที่เป็นที่ปรึกษาร่วมให้แบ่งการคำนวณภาระงาน ซึ่งเมื่อรวมภาระงานของคณาจารย์ทุกคนแล้วต้องไม่เกินภาระงานที่กำหนดไว้
     3.3 การประกันคุณภาพหลักสูตร เป็นเรื่องที่ต้องดำเนินการหลายอย่างประกอบกัน ตั้งแต่การรับอาจารย์ที่มีคุณวุฒิตรง มีความเป็นครู มีความรับผิดชอบ ในการจัดทำหลักสูตรต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก และคณะกรรมการต่างๆ การจัดการเรียนการสอนต้องมีแผนการสอน เอกสารการสอน การออกข้อสอบ การตัดเกรด การประเมินผลการสอนจากนักศึกษา ตลอดจนการวิจัยเพื่อติดตามผลหลักสูตร การประเมินหลักสูตรจากผู้ใช้บัณฑิต ว่าสามารถตอบสนองตลาดแรงงาน หรือไม่ นักศึกษามีความสามารถในการแก้ปัญหางานและคนได้ หรือไม่ เป็นคนดีมีคุณธรรม หรือไม่ ซึ่งในแต่ละปีการศึกษาสถาบันได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในส่วนของนักศึกษาที่จบไปแล้ว และสถานประกอบการที่รับนักศึกษาเข้าทำงาน
     3.4 การจัดทำฐานข้อมูลที่ต้องเปิดเผยและรายงานต่อสาธารณะ
     - การเผยแพร่ข้อมูลหลักสูตรทางเว็บไซต์ของสถาบัน และทางเอกสารสนเทศ
     - การจัดส่งข้อมูลรายบุคคลของนักศึกษา บุคลากร และหลักสูตรให้กับ สกอ. เพื่อเข้าสู่ระบบฐาน ข้อมูลอุดมศึกษา
      4. ท่านคิดว่าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการจัดการศึกษาหรือไม่ อย่างไร
       1. ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการจัดการศึกษา ทำให้มีอาจารย์ประจำที่สอนและดูแลนักศึกษามากขึ้น ป้องกันการเปิดหลักสูตรที่ขาดความพร้อมได้ ทำให้หลักสูตรทุกหลักสูตรมีคุณภาพเดียวกัน และทำให้ระบบมีประสิทธิภาพมากขึ้น
     2. การกำหนดให้ทุกหลักสูตรแสดงการปรับปรุงดัชนีด้านมาตรฐานและคุณภาพการศึกษาเป็นระยะๆ อย่างน้อยทุกๆ 5 ปี และมีการประเมินเพื่อพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องทุก 5 ปี มีความเหมาะสม ซึ่งจะส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการจัดการศึกษาให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง
      5. กรณีหลักสูตรที่ดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2542 สถาบันมีการเตรียมการเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548
       1. ได้จัดสัมมนาวิชาการเรื่อง ทิศทางการดำเนินงานในการจัดการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตร-ระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2548
     2. ได้มีการระดมสมองเพื่อกำหนดนโยบายที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกันทั้งสถาบัน
     3. ปรับฐานความพร้อมในหลายๆด้าน เช่น ภาระการสอนของอาจารย์ จำนวนอาจารย์ต่อนักศึกษา เป็นต้น ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 สถาบันของท่านได้ดำเนินการเตรียมความพร้อมในเรื่องต่อไปนี้อย่างไร
     5.1 จำนวนคุณวุฒิ ตำแหน่งทางวิชาการ รวมทั้งแผนการพัฒนาทั้งด้านคุณวุฒิและตำแหน่งทางวิชาการ
     - ส่งเสริมให้อาจารย์จัดทำผลงานทางวิชาการ เพื่อเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ และการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น
     5.2 ภาระงานที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์และการค้นคว้าอิสระ สถาบันกำหนดให้อาจารย์มีภาระงานควบคุมวิทยานิพนธ์และปริญญานิพนธ์ไม่เกิน 20 ชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ต่อภาคการศึกษาปกติ
     - งานควบคุมหรืองานที่ปรึกษาโครงงานพิเศษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ให้คำนวณภาระงานเท่ากับ 2 ชั่วโมงทำงานต่อ 1 เรื่องต่อสัปดาห์ต่อภาคการศึกษาปกติ ทั้งนี้แต่ละเรื่องให้นับภาระงานได้ไม่เกิน 1 ปี หรือ 2 ภาคการศึกษาปกติ และให้มีภาระงานไม่เกิน 10 เรื่องในคราวเดียวกัน กรณีที่เป็นที่ปรึกษาร่วมให้แบ่งการคำนวณภาระงาน ซึ่งเมื่อรวมภาระงานของคณาจารย์ทุกคนแล้ว ต้องไม่เกินภาระงานที่กำหนดไว้
     - งานที่ปรึกษาและควบคุมวิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษา ให้คำนวณภาระงาน 4 ชั่วโมงทำงานต่อ
     1 เรื่องต่อสัปดาห์ต่อภาคการศึกษาปกติ ทั้งนี้แต่ละเรื่องให้นับภาระงานได้ไม่เกิน 2 ปี หรือ 4 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับระดับปริญญาโท และไม่เกิน 3 ปี หรือ 6 ภาคการศึกษาปกติ สำหรับระดับปริญญาเอก โดยให้มีภาระงานได้ไม่เกิน 5 เรื่องในคราวเดียวกัน กรณีที่เป็นที่ปรึกษาร่วมให้แบ่งการคำนวณภาระงาน ซึ่งเมื่อรวมภาระงานของคณาจารย์ทุกคนแล้ว ต้องไม่เกินภาระงานที่กำหนดไว้
     - งานที่ปรึกษาโครงงาน/ปัญหาพิเศษระดับบัณฑิตศึกษา ให้คำนวณภาระงานเรื่องละ 3 ชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์ต่อภาคการศึกษาปกติ ทั้งนี้แต่ละเรื่องให้นับภาระงานได้ไม่เกิน 1 ปี หรือ 2 ภาคการศึกษาปกติ โดยให้มีภาระงานไม่เกิน 10 เรื่องในคราวเดียวกัน ในกรณีที่ต้องคำนวณภาระงานที่เป็นตอนเรียน ให้คำนวณเช่นเดียวกับภาระงานสอนและกรณีที่เป็นที่ปรึกษาร่วมให้แบ่งการคำนวณภาระงาน ซึ่งเมื่อรวมภาระงานของคณาจารย์ทุกคนแล้วต้องไม่เกินภาระงานที่กำหนดไว้
     5.3 การประกันคุณภาพหลักสูตร ในแต่ละปีการศึกษาสถาบันได้มีการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งในส่วนของนักศึกษาที่จบไปแล้ว และสถานประกอบการที่รับนักศึกษาเข้าทำงาน
     5.4 การจัดทำฐานข้อมูลที่ต้องเปิดเผยและรายงานต่อสาธารณะ
     - การจัดส่งข้อมูลรายบุคคลของนักศึกษา บุคลากร และหลักสูตรให้กับ สกอ. เพื่อเข้าสู่ระบบฐานข้อมูลอุดมศึกษา
     - การเผยแพร่ข้อมูลหลักสูตรทางเว็บไซต์ของสถาบัน และทางเอกสารสนเทศ
      6. ท่านคิดว่าเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการจัดการศึกษาหรือไม่ อย่างไร
       ในระยะเริ่มแรกอาจมีปัญหา แต่ในระยะยาวเมื่อสถาบันมีความพร้อมด้านบุคลากร คาดว่าจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ ทางด้านการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพดีขึ้นในภาพรวม และป้องกันการขาดความพร้อมในการเปิดสอน
      7. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 ในด้านต่างๆมีอะไรบ้าง(ระบุ)
       1. นโยบายการผลิตบัณฑิตในเรื่องปริมาณกับคุณภาพยังไม่สอดคล้องกับแนวทางการพัฒนาประเทศ
     2. การเตรียมความพร้อมในเรื่องจำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ประจำหลักสูตรที่จะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ โดยที่ต้องมีอาจารย์ประจำหลักสูตรไม่น้อยกว่า 5 คน และจะเป็นอาจารย์ประจำเกินกว่า 1 หลักสูตรในเวลาเดียวกันไม่ได้
     3. การกำหนดจำนวนหน่วยกิตในแต่ละหมวดวิชา และจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร
      8. ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 ในด้านต่างๆมีอะไรบ้าง (ระบุ)
      1. การกำหนดจำนวนและคุณวุฒิของอาจารย์ ตั้งแต่อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยา-นิพนธ์ อาจารย์ผู้สอบวิทยานิพนธ์ และอาจารย์ผู้สอน ควรคำนึงถึงความพร้อมของแต่ละสถาบันการศึกษา
     2. งบประมาณสนับสนุน ทุนวิจัย และอัตรากำลังในด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
      9. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548
      1. การลงทะเบียนเรียนเต็มเวลา การลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา หมายความว่าอย่างไร กรณีนักศึกษาเรียนภาคค่ำแต่ใช้เวลาเรียนต่อสัปดาห์เท่ากับนักศึกษาปกติ จะถือเป็นนักศึกษาที่เรียน เต็มเวลา หรือไม่ อย่างไร
     2. ระยะเวลาการศึกษา การสำเร็จการศึกษาของหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี และหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) สถาบันอุดมศึกษาสามารถกำหนดให้เป็นไปตามระเบียบของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ เช่น กรณีหลักสูตรปริญญาตรี (ต่อเนื่อง) ในการลงทะเบียนเรียนไม่เต็มเวลา กำหนดให้มีระยะเวลาการศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา และสำเร็จการ-ศึกษาได้ไม่ก่อน 8 ภาคการศึกษาปกติ เท่ากับ 4 ปีการศึกษา ซึ่งตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2542 เดิมกำหนดสำเร็จการศึกษาได้ไม่ก่อน 4 ภาคการศึกษาปกติ ทั้งหลักสูตรที่เรียนเต็มเวลาและไม่เต็มเวลา โดยในส่วนของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือกำหนดให้หลักสูตรที่เรียนไม่เต็มเวลามีระยะเวลา การศึกษา 3 ปีการศึกษา และไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
     3. ควรมีบทเฉพาะกาลในการดำเนินการตามเกณฑ์
     4. ควรมีการสัมมนาสรุปผลกระทบอันเนื่องมาจากการใช้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 ในแต่ละสถาบันอุดมศึกษาโดยมีการนำเสนอตัวอย่างเปรียบเทียบ
      10. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548
      1. ควรมีบทเฉพาะกาลในการดำเนินการตามเกณฑ์
     2. ควรมีการสัมมนาสรุปผลกระทบอันเนื่องมาจากการใช้เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548 ในแต่ละสถาบันอุดมศึกษาโดยมีการนำเสนอตัวอย่างเปรียบเทียบ

      หมายเหตุ ข้อมูลดังกล่าวนำเสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)ตามบันทึกข้อความที่ ศธ 0525/0430 ลงวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2549 เรื่อง ขอจัดส่งแบบสำรวจความเหมาะสมของเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและการนำไปใช้

ปฏิทินกิจกรรม

<< May 2024  >>
SUNMONTUEWEDTHUFRISAI
    1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
12 13 14 15 16 17 18
19 20 21 22 23 24 25
26 27 28 29 30 31 
 

KMUTNB Links :

    มจพ.